การตอบสนองของเนื้อเยื่อต่อการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา


                สวัสดีค่ะเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่เข้ามาชมบล๊อกของมันหวานนะคะ พูดถุงเรื่องการออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อไปคร่าวๆกันแล้วนะคะ ทีนี้มาพูดถึงเรื่องการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้กันดีกว่าค่ะ   เชื่อว่าหลายๆคนที่เป็นทั้งนักกีฬาสมัครเล่นและนักกีฬามืออาชีพเองต่างก็หนีไม่พ้นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น  แต่ทั้งนี้เองเราจะมีวิธีรับมือมันยังไงคะ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเรา   แต่เดี๋ยวก่อนค่ะ หลายคนคงสงสัยว่าทำไมมันหวานเอารูปกระโดดมา อันนี้ก็เพราะว่าจะได้อธิบายถึง Biomechanical ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันด้วยนั่นเองค่ะ  งั้นเราไปดูกันดีกว่าค่ะว่าเวลาที่เราเกิดการบาดเจ็บนั้นร่างกายมีกระบวนการยังไงบ้างแล้วจะมีวิธีการรักษายังไง



         กล่าวถึงเรื่องแรงกระทำที่เกิดขึ้นนะคะ  มีทั้งแรงที่เกิดขึ้นภายนอก(External force) เช่นขณะเล่นมีการกระแทกกันจากฝ่ายตรงข้าม หรือจากอุปกรณ์ที่ใช้เล่น และแรงที่เกิดขึ้นภายใน (Internal force) เช่นการใช้งานหรือการออกแรงที่มากเกินไป(Overuse)ซึ่งทำให้เกิดการฉีกขาดของเอ็นยึดข้อ(Sprain)  การฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้อ (Strains) และการหักของกระดูก(Fracture) ได้ ดังนั้นการที่เราจะรู้ได้ว่าเป็นการบาดเจ็บชนิดไหนจึงต้องศึกษาหรือมีความรู้เรื่องกายวิภาค (Anatomical position) ระนาบของร่างกาย(Body planes) จุดเกาะของกล้ามเนื้อแต่ละมัดด้านต้น(Origin) และด้านปลาย(Insertion) รวมถึงหน้าที่(Function) และเส้นประสาทที่ไปเลี้ยง(Innervation) เพื่อให้เข้าใจในการบาดเจ็บนั้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากๆค่ะสำหรับตัวนักกีฬาเอง ผู้ฝึกสอนและผู้ที่ให้การดูแลรักษา



Mechanism of injury หรือกลไกการบาดเจ็บ

            เพื่อนๆเคยสงสัยกันมั้ยคะว่าทำไมเราต้องรู้เรื่องพวกนี้  จริงๆ แล้วในนักกีฬานั้นจะมีแรงที่เกิดขึ้นทั้งแรงที่กระทำและถูกกระทำ รวมไปถึงความเครียดเชิงกลที่เกิดขึ้นภายในค่ะ  เคยสังเกตมั้ยคะว่าเวลาหมอถามเราว่าไปทำอะไรมาถึงเจ็บ ล้มแบบไหน หรือถูกกระแทกมา นั่นเป็นเพราะแพทย์สามารถทำนายได้ว่า  เกิดแรงประเภทใดจะทำให้เกิดการบาดเจ็บแบบใดนั่นเองค่ะ



            หลักการทางชีวกลศาสตร์ (Biomechanical principles)

                         การจะเข้าใจสิ่งเหล่านี้นั้นอย่างแรกเราต้องเข้าใจการเคลื่อนไหวเชิงกลก่อนนะคะ  มาดูกันเลยดีกว่าค่ะว่าในการเคลื่อนไหวของเรานั้นมีการเคลื่อนไหวแบบเชิงกลอะไรบ้าง
                         แรง (Force) คือแรงที่กรทำทั้งจากภายนอกและภายในค่ะ แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
   

                                1.) ภายนอก(External force) ช่นผู้เล่นคนอื่นมากระแทก หรือ การที่เราวิ่งบนพื้นเป็นการสร้างแรงจากภายนอก โดยถ้าพื้นไม่มีแรงต้านกลับ (Push back) ที่เท้านั้น เท้าก็จะลอยขึ้นไม่ได้


                                2.) แรงภายใน (Internal force) เช่น ต่อจากที่กล่าวมาคือ แรงภายในนั้นก่อให้เกิดแรงภายนอกได้เช่นเดียวกัน โดยการที่จะคงความมั่นคง (Stable) ของข้อต่อระหว่างการวิ่งหรือกระโดดนั้น กล้ามเนื้อต้องมีการหดตัว ซึ่งไม่ได้ต้องการแค่แรงที่ทำให้ไปข้างหน้า (Propulsion) เท่านั้น แต่ต้องอาศัยการชะลอความเร็ว (Deceleration) และซึมซับแรงของรองเท้า (Shoed absorption) สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การสร้างแรงภายใน




                            จากที่กล่าวมานั้นนะคะ จะมีแรงที่กระทำทั้งภายนอกและภายในพร้อมๆกันขณะที่เราวิ่งหรือเดิน ก็จะมีแรงมากระทำที่เอ็นยึดข้อต่อ (Ligaments) เอ็นกล้ามเนื้อ (Tenons) และกล้ามเนื้อ (Muscles) ที่เพิ่มขึ้นจากน้ำหนักตัวปกติ 2-3 เท่าเลยค่ะ

       
              จากภาพข้างต้นและการอธิบายแรงไปเมื่อข้างต้น มีแรงที่เกิดจากภายในและภายนอกในทิศทางที่ตรงข้ามกันค่ะซึ่งแรงที่เกิดขึ้นนั้นเกิดความไม่สมดุลกันของแรงขึ้นนั่นเองค่ะจึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนไหว 2 แบบ คือ การเลื่อน (Translation) ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดจากการเคลื่อนไหวตามทิศทางที่มีแรงมากระทำค่ะ และ การหมุน (Rotation) เป็นการเคลื่อนไหวเกิดจากแรงกระทำที่ขนานกันในทิศทางตรงกันข้ามนั่นเองค่ะ ซึ่งจริงๆแล้วการเคลื่อนไหวของร่างกายนั้นมีความซับซ้อนมากๆค่ะ เกิดทั้งการเลื่อนและการหมุนไปพร้อมๆกัน



             แล้วถ้าแรงที่เกิดขึ้นอย่างสมดุลกันล่ะ จะเรียกว่าอะไร??  ใช่ค่ะในร่างกายเรามรแรงที่เกิดขึ้นอย่างสมดุลกันด้วยนะคะ ซึ่งทำให้ไม่เกิดการเคลื่อนไหวค่ะ มีอยู่ 3 ชนิดดังนี้ค่ะ

             1.) แรงกด (Compressive force) เป็นแรงที่กระทำเข้ากันในทิศทางตรงกันข้าม
             2.) แรงดึง (Tensile force) เป็นแรงดึงที่ออกจากกันในทิศทางตรงกันข้าม
             3.) แรงเฉือน (Shear force) เป็นแรงที่กระทำขนานกันในทิศทางตรงข้ามกัน








 แรงเชิงกลกับการตอบสนองของร่างกาย (Mechanical forces and Body response) 

               
             ปกติแล้วแรง (Force or load) ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆจะทำให้เกิดความเครียด (Stress) เราสามารถคำนวณความเครียดต่อหน่วยพื้นที่ได้ค่ะ (Force per unit) แต่ในชีวิตจริงแล้วคิดว่าเพื่อนๆ น่าจะไม่ได้สนใจว่าจะออกแรงเท่าไหร่แล้วได้ความเครียดเท่าไหร่หรอกใช่มั้ยคะ เอาเป็นว่ารู้เพียงว่าถ้าแรงขนาดเท่ากันกระทำบนพื้นที่ที่มีมากจะมีความเครียดน้อยกว่ากระทำบนพื้นที่ขนาดเล็กนั่นเองค่ะ


            ทีนี้เรากำลังจะพูดถึงแรงที่เกดิขึ้นกับส่วนต่างๆของร่างกายกันค่ะ

            เนื้อเยื่อออ่น (Solf tissue) ได้แก่ กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นยึดข้อ กระดูกอ่อน ซึ่งเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (Deformation) ได้เมื่อมีแรงมากระทำ  ทั้งแรงกด แรงดึงและแรงเฉือน โดยไม่ได้ทำลายเนื้อเยื่อ การตอบสนองเชิงกลต่อเนื้อเยื่ออ่อนนี้เรียก (Strain) ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้มีความยืดหยุ่นค่ะ แต่ในกระดูก (Bone) จะไม่มีโครงสร้างนี้

           ความเครียดและความเค้นที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่ออ่อน (จากราฟ) จะอธิบายเรื่องของการเกิดความเครียดและความเค้นที่ไม่มากเกินไปทำให้เนื้อเยื่อยืด เปลี่ยนแปลงรูปร่าง (Deforming force) และคงระดับไว้ และแรงนั้นหมดไป ก็จะทำให้เนื้อเยื่อดังกล่าวกลับสู่สภาพเดิมได้ (Original shape) โดยไม่ถูกทำลาย เช่น เวลาที่เรายืดกล้ามเนื้อค่ะ จนถึงระดับนึงแล้วเราหยุด จากนั้นเนื้อเยื่อก็จะกลับมาในสภาพเดิมและทำงานได้ตามปกติค่ะ


                   อย่างที่กล่าวมาหากว่าเกิดแรงที่มากเกินไปก็จะทำให้เกิดการบาดเจ็บของโครงสร้างกล้ามเนื้อได้ เรียกว่ามีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ (Plastic deformation)นั่นเองค่ะ    แต่ถ้าแรงที่มากระทำต่อเนื่องหรือมากขึ้นก็จะทำให้เนื้อเนื้อสูญเสียหน้าที่โดยสมบูรณ์ (Complete failure) จุดนี้ความเครียดจะเป็นศูนย์ (Zero) หรือเรียกว่าการฉีกขาดอย่างสมบูรณ์นั่นเอง (Complete rupture) ก็จะทำให้นักกีฬาไม่สามารถเคลื่อนไหวจุดนั้นได้ก็เลยไม่เกิดความเครียดและความเค้นนั่นเองค่ะ

         พยาบาลวิชาชีพอย่างมันหวานเองมักจะสังเกตุพบ Diagnosis ของแพทย์ค่ะ เราก็จะพบว่ามีคำว่า Strain และ Sprain ร่วมอยู่ด้วย ทีนี้หลายๆคนคงทราบแล้วนะคะว่าถ้า Strain นั้นแสดงว่าเกิดการบาดเจ็บที่เกิดจากความเครียดและความเครียดของเนื้อเยื่อออ่นนั่นเองค่ะ ^O^


การตอบสนองของเนื้อเยื่อต่อการบาดเจ็บ (Tissue response to injury)

            เมื่อร่างกายของเราเกิดการบาดเจ็บขึ้นนะคะ การตอบสนองของร่างกายต่อการบาดเจ็บคือการอักเสบ (Inflammation) และมีกระบวนการรักษาให้หาย  (Healing) แน่นอนค่ะว่าการบาดเจ็บที่ได้รับนั้นมักเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น  การถูกกระแทกโดยตรง (Direct blow) ความเครียดของอวัยวะจากการหมุน (Rotational stress)  การเคลื่อนไหวจากแรงที่ผิดปกติ (Force abnormal motion) และแรงที่เกิดการยืด (Over stretching force) หรือแรงที่ทำให้เกิดการฉีกขาดนั่นเอง



กลไกการบาดเจ็บจากกีฬา แบ่งเป็น 2 ประเภท

        1.การบาดเจ็บที่เกิดจากภยันตราย (Traumatic injury)

            1.1 กระดูกแตกหัก (Fractures) เกิดจากการถูกกระแทกอย่างรุนแรงโดยตรงทำให้มีการแตกหักเกิดขึ้น แล้วนอกจากนี้ยังทำให้เยนื้อเยื่อโดยรอบบาดเจ็บมากอีกด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อ เส้นประสาท ผิวหนัง โดยต้องให้การปฐมพยาบาลและรักาาควบคู่กันไปด้วยค่ะ

            1.2 ข้อเคลื่อน หลุด (Subluxation, Dislocation)  เกิดจากแรงกระแทกดดยตรงหือทางอ้อม ทำให้เนื้อเยื่อที่หุ้มข้อนั้นมีการฉีกขาด รวมถึงแคปซูล และเอ็นยึดข้อต่อส่วนปลายกระดูก ที่ประกอบกันเป็นข้อต่อ จึงเลื่อนหลุดออกจากกัน หรือเลื่อนออกจากกันเป็นบางส่วน  (Subluxation) หรือเลื่อหลุดโดยสมบูรณ์ (Dislocation) ที่พบได้บ่อยคือหัวไหล่และข้อศอก



            1.3 ข้อเคล็ด ข้อแพลง จากเอ็นยึดข้อต่อฉีกขาด (Sprain) แรงที่มาทำต่อจ้อต่อ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เอ็ดยึดข้อต่อฉีกขาด ทั้งเอ็นภายนอกและภายในข้อต่อ อาจฉีกขาดบางส่วนหรือฉีกขาดโดยสมบูรณ์


            1.4 กล้ามเนื้อฉีก (Strain) เกิดจากทั้งแรงกระแทกโดยตรงและทางออ้ม เช่น เวลาที่เราวิ่งอยู่ด้วยความเร็วแล้วมีการเปลี่ยนทิศทางกระทันหัน แล้วทำให้กล้ามเนื้อต้นขาฉีกขาดจากแรงกระชาก


            1.5 เอ็นกล้ามเนื้อฉีก (Tendon Rupture) เอ็นเป็นส่วนที่ต่อจากกล้ามเนื้อไปเกาะที่กระดูกจึงทำหน้าที่เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อ กลไกกล้ามเนื้อฉีกขาดจึงเป็นไปในแบบเดียวกันนั่นเองค่ะ


             1.6 บาดแผลหรือผิวหนังฉีกขาด (Wound) เกิดจากแรวกระทำโดยตรงค่ะเช่น แผลถลอก (Abration) เกิดจากถูกของแข็งครูดอย่างแรงค่ะ ยกตัวอย่างนะคะ สมมติขณะที่วิ่งอยู่นั้น สพดุดล้ม เข่าจึงไปครูดกับพื้นถนนที่วิ่งเกิดแผลถลอกขึ้นนั่นเองค่ะ


  2.การบาดเจ็บจากการใช้งานมากเกินไป (Over use injury)  เกิดจาการใช้งานที่มากเกินไป (Repeated Mechanical Overload) ต่อระบบกระดูแลกล้ามเนื้อนั่นเองค่ะ (Musculo-skeletal system)  ซึ่งการบาดเจ็บบนี้นะคะ เกิดได้ทั้งปัจจัยยภายนอกและเกิดจากปัจจัยภายในตัวนักกีฬาด้วยนั่นเองค่ะ

       



             2.1 การอักเสบ (Inflammation) ซึ่งการอักเสบเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบของร่างกายเมื่อเกิดการบาดเจ็บขึ้นนั่นเองค่ะ ไม่ว่าจะมาจากแรงกด แรงเสีดสี การใช้งานที่มากเกินไป การใช้งานซ้ำๆ และจากแรงกระแทกภายนอก เช่น การอักเสบของเอ็นที่เกาะกระดูก (Tendinitis) การอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อและปลอกเอ็น (Paratendinitis) และถุงลื่นอักเสบ (Bursitis)


            2.2 กระดูกหักล้า (Stress Fracture) เกิดการร้าวของกระดูกเนื่องจากการใช้งานมากเกินไป เช่นนักวิ่งระยะไกลที่เพิ่มระยะทางเร็วเกินไป หรือวิ่งบนพื้รนที่แข็ง จะพบกระดูกร้าวหรือแตกบริเวณขาและเท้า ส่วนนักกีฬาที่เล่นกีฬาเกี่ยวกับการหมุน บิด หีือยกของหนัก เช่นนักกีฬายิมนาสตกหรือยกน้ำหนัก จะพบกระดูกร้าวที่หลังระดับเอว เป็นต้น (ธีรวัฒน์  กุลทนันท์.2545)


         โอเคค่าาาาาาา ก็ก้าวมาถึงตอนท้ายแล้ววว โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะสำหรับท่านที่ยังค้างคาใจเรื่องการตอบสนองต่อการบาดเจ็บของร่างกายค่ะ  ในตอนต่อไปเราจะไปพูดถึงเรื่องสาเหตุต่างๆที่ทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บได้ค่ะ แล้วลักษณะการบาดเจ็บต่างแบบต่างๆจะมีวิธีการดูแลตนเองและการรักษาอย่างไรบ้าง รอติดตามกันด้วยนะคะ  บ๊าย บายยยยยยยยย.............(มันหวานฮาเฮ)





Credit: http://boneandspine.com/forces-on-bone/
Credit:   http://www.pt.ntu.edu.tw/hmchai/Biomechanics/BMmeasure/StressMeasure.htm  
Credit:  ปริญญานิพนธ์: การบาดเจ็บของนักกรีฑาที่เข้้าร่วมการแข่งขันกีฬาแแห่งชาติ ครั้งที่ 39
Credit : ภาพจากคุณ บอย  ไพศาล  เจนจารุวงศ์  Personal trainer หาดใหญ่  หากท่านใดสนใจเทรนกับเทรนเนอร์มืออาชีพ โทรเลย 086-9554099 หรือ facebook  https://www.facebook.com/boy.jenjaruwong?fref=ts คลิ๊กเลยค่ะ














Comments