Diet มีผลต่อฮอร์โมนนะ!
Diet มีผลกระทบกับฮอร์โมนในร่างกายอย่างไร??
ร่างกายจะเป็นยังไงนะเมื่อเกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ไปดูกันเลยยยยย!!!
Cortisol:มี ปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนตัวนี้สามารถกระตุ้นการสลายกล้ามเนื้อเพื่อเอาโปรตีนออกมา ได้ ดังนั้นเมื่อไดเอททำให้ระดับ Cortisol เพิ่มขึ้นก็จะทำให้การสลายกล้ามเนื้อนั้นเพิ่มมากขึ้น [9]
ร่างกายจะเป็นยังไงนะเมื่อเกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ไปดูกันเลยยยยย!!!
ฮอร์โมนหลายๆ ชนิดมีความสำคัญต่อการควบน้ำหนัก [1]ยกตัวอย่างเช่น
T3:เป็น ฮอร์โมนที่สร้างมาจากไทรอยด์ ซึ่ง T3 นี้ทำหน้าที่ควบคุมระดับการเผาผลาญ (metabolic rate) โดยพบว่าเมื่อระดับของ T3 เพิ่มสูงขึ้นก็จะทำให้ระดับการเผาผลาญนั้นสูงขึ้นตามไปด้วย และเมื่อระดับ T3 ต่ำลงก็จะส่งผลให้ระดับการเผาผลาญนั้นตกลง [2]
T3:มี ปริมาณลดลง เนื่องจาก T3 เกี่ยวข้องกับระดับการเผาผลาญ ดังนั้นเมื่อไดเอททำให้ระดับ T3 ลดลงก็จะทำให้ระดับการเผาผลาญตกลงไปด้วย ซึ่งการเผาผลาญที่ลดลงจะทำให้การลดไขมันต่อไปนั้นเป็นไปได้ยากขึ้นเพราะร่าง กายใช้พลังงานน้อยลง [8, 9]
Leptin:เป็น ฮอร์โมนที่สร้างมาจากเซลล์ไขมัน ดังนั้นเมื่อปริมาณเซลล์ไขมันในร่างกายมีมากก็จะทำให้ระดับของฮอร์โมนตัวนี้ มากไปด้วย และเมื่อปริมาณเซลล์และขนาดไขมันลดลงก็จะทำให้ระดับของ leptin ลดลงไปด้วยเช่นกัน ตัว leptin นั้นเกี่ยวข้องกับความอิ่มหรือความอยากอาหาร (satiety) เมื่อระดับของ leptin ในเลือดเยอะนั้นจะทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มและทำให้ระดับการเผาผลาญเพิ่มขึ้น [3]
Leptin:มี ปริมาณลดลง เนื่องจากว่าในการลดน้ำหนักนั้น ปริมาณไขมันก็จะลดลงไปด้วยซึ่งตัวเซลล์ไขมันนี้เป็นที่ผลิตฮอร์โมน leptin จึงทำให้ปริมาณของ leptin ลดลง ผลของการที่ leptin ลดลงนั่นก็คือความรู้สึกอิ่มนั้นลดลงและทำให้อัตราการเผาผลาญตกลง [8, 9]
Insulin:หน้าที่ หลักของ insulin นั้นก็เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เกี่ยวข้องกับการลำเลียงสารอาหารเข้าสู่เซลล์ (ซึ่งรวมถึงการนำอาหารไปสะสมในเซลล์ไขมันด้วย) แต่ในหน้าที่อีกอย่างนึงที่ไม่ค่อยได้พูดถึงกันนั้นคือ insulin ถูกพบว่าเป็นฮอร์โมนที่ช่วยยับยั้งการสลายโปรตีนกล้ามเนื้อ [4]
Insulin:มี ปริมาณลดลง เมื่อย้อนกลับไปดูว่า insulin นั้นมีส่วนช่วยยับยั้งการสลายกล้ามเนื้อได้ ดังนั้นเมื่อเราไดเอทและมีระดับ insulin ต่ำลงจึงทำให้เกิดเกิดการสลายกล้ามเนื้ออย่างช่วยไม่ได้ (เพราะตัวที่ยับยั้งมันตัวนึงอย่าง insulin ลดลง) ดังนั้นการไดเอททุกครั้งย่อมมีการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อแน่นอน [9]
Insulin:มี ปริมาณลดลง เมื่อย้อนกลับไปดูว่า insulin นั้นมีส่วนช่วยยับยั้งการสลายกล้ามเนื้อได้ ดังนั้นเมื่อเราไดเอทและมีระดับ insulin ต่ำลงจึงทำให้เกิดเกิดการสลายกล้ามเนื้ออย่างช่วยไม่ได้ (เพราะตัวที่ยับยั้งมันตัวนึงอย่าง insulin ลดลง) ดังนั้นการไดเอททุกครั้งย่อมมีการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อแน่นอน [9]
Testosterone: เป็นฮอร์โมนที่ส่งเสริมการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ แต่มีการพบว่าระดับ Testosterone สูงขึ้นนั้นจะทำให้ระดับมวลไขมันลดลง ซึ่งกลไกที่ Testosterone ส่งผลต่อระดับมวลไขมันนั้นยังไม่แน่ชัด อาจจะเป็นผลทางอ้อมเนื่องจาก Testosterone ส่ง เสริมการสร้างกล้ามเนื้อซึ่งตัวกล้ามเนื้อนี่เองที่ส่งผลต่อระดับการเผาผลาญ เมื่อร่างกายมีมวลส่วนที่เพิ่มการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นก็ทำให้ร่างกายต้อง หาพลังงานมาใช้เพิ่มมากขึ้นซึ่งก็อาจจะนำมาจากไขมันที่สะสม [5]
Testosterone:มี ปริมาณลดลง เมื่อย้อนกลับไปดูว่าระดับ test ที่สูงนั้นจะทำให้ระดับไขมันน้อย ดังนั้นความสัมพันธ์อาจจะตีความได้อีกอย่างว่าถ้า test น้อยแล้วจะทำให้ระดับไขมันมาก การที่ไดเอทแล้วมีระดับ test ต่ำลงนั่นอาจจะเป็นการที่ร่างกายพยายามรักษาสมดุลร่างกายโดยที่พยายามเพิ่ม ระดับไขมันสะสมเพื่อชดเชยในส่วนที่เสียไป [8, 9]
Ghrelin: เป็น ฮอร์โมนที่ควบคุมความอยากอาหาร เมื่อระดับฮอร์โมนตัวนี้สูงจะเป็นสัญญานบอกร่างกายว่าให้หาอาหารทาน โดยฮอร์โมนนี้จะมีระดับสูงเมื่ออดอาหารนานๆ (fasting) และระดับจะลดลงเมื่อร่างกายได้ทานอาหารแล้ว [6]
Ghrelin:มี ปริมาณเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนนี้ควบคุมความอยากอาหาร ดังนั้นเมื่อไดเอทจะทำให้ระดับ Ghrelin เพิ่มขึ้นนั้นก็จะทำให้ความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น [9]
Ghrelin:มี ปริมาณเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนนี้ควบคุมความอยากอาหาร ดังนั้นเมื่อไดเอทจะทำให้ระดับ Ghrelin เพิ่มขึ้นนั้นก็จะทำให้ความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น [9]
Cortisol: เป็น ฮอร์โมนที่ร่างกายใช้ตอบสนองต่อความเครียดต่างๆ ทำให้หลายคนเรียกฮอร์โมนเครียด พบว่า cortisol นั้นกระตุ้นการสลายโปรตีนกล้ามเนื้อ เมื่อร่างกายอดอาหารนานๆ ก็จะทำให้ระดับ cortisol เพิ่มมากขึ้น [7]
ที นี้เรามาดูกันบ้างในขณะที่เรากำลังลดน้ำหนัก ด้วยการจำกัดปริมาณแคลอรี่ให้น้อยกว่าความต้องการ (hypocaloric) นั้นจะส่งผลอะไรกับฮอร์โมนเหล่านี้กันบ้าง
ดังนั้นจะเห็นว่าการไดเอทนั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนต่างๆ สรุปได้ดังนี้
- ส่งเสริมให้ร่างกายสูญเสียมวลกล้ามเนื้อมากขึ้นเนื่องจากฮอร์โมน Test + insulin ลดลง และ cortisol เพิ่มมากขึ้น
- ส่งเสริมการ เพิ่มไขมันสะสมเนื่องจาก T3 ลดลงจะทำให้ระดับการเผาผลาญลดลง (ลด output), เพิ่มการนำอาหารเข้าร่างกายมากขึ้น (เพิ่ม input) เนื่องจาก Leptin ลดลง และ ghrelin เพิ่มมากขึ้น
โอเคค่ะ ตอนนี้เราก็ได้ทราบกันแล้วนะคะ ว่าฮอร์โมนต่างๆมีผลต่อการลดน้ำหนักอย่างไร ตอนนี้เราจะได้สามารถจัดการตนเองได้ในระดับนึงนะคะ
อ้างอิง
1. Trexler ET, Smith-Ryan AE, Norton LE: Metabolic adaptation to weight loss: implications for the athlete. J Int Soc Sports Nutr 2014, 11(1):7.
2. Kim B: Thyroid hormone as a determinant of energy expenditure and the basal metabolic rate. Thyroid 2008, 18(2):141-144.
3. Margetic S, Gazzola C, Pegg GG, Hill RA: Leptin: a review of its peripheral actions and interactions. Int J Obes Relat Metab Disord 2002, 26(11):1407-1433.
4. Strohacker K, McCaffery JM, MacLean PS, Wing RR: Adaptations of leptin, ghrelin or insulin during weight loss as predictors of weight regain: a review of current literature. Int J Obes (Lond)2014, 38(3):388-396.
5. De Maddalena C, Vodo S, Petroni A, Aloisi AM: Impact of testosterone on body fat composition. J Cell Physiol 2012, 227(12):3744-3748.
6. Ariyasu H, Takaya K, Tagami T, Ogawa Y, Hosoda K, Akamizu T, Suda M, Koh T, Natsui K, Toyooka S et al: Stomach is a major source of circulating ghrelin, and feeding state determines plasma ghrelin-like immunoreactivity levels in humans. J Clin Endocrinol Metab 2001, 86(10):4753-4758.
7. Rooyackers OE, Nair KS: Hormonal regulation of human muscle protein metabolism. Annu Rev Nutr 1997, 17:457-485.
8. Hagmar M, Berglund B, Brismar K, Hirschberg AL: Body composition and endocrine profile of male Olympic athletes striving for leanness. Clin J Sport Med 2013, 23(3):197-201.
9. Rossow LM, Fukuda DH, Fahs CA, Loenneke JP, Stout JR: Natural bodybuilding competition preparation and recovery: a 12-month case study. Int J Sports Physiol Perform 2013, 8(5):582-592.
Comments
Post a Comment