ทฏษฎี DOMS Delayed onset muscle soreness
อาการเป็นยังไง?
เป็นอาการตึง เมื่อย ปวดหรือล้า
มักเกิดขึ้นหลัง 24 ชม.
หลังการออกกำลังกาย และอาการจะพีคสุด
1-3 วัน
และจะหายไปประมาณ 7- 10 วันค่ะ
สาเหตุมาจากไหน?
1.
Movement ที่ไม่คุ้นเคย
มักเกิดในคนที่เล่นเวทใหม่ๆ
หรอคนที่ใช้ท่าทางในการเล่นใหม่ที่ไม่ค่อยได้เล่นมาก่อน
2.
Eccentric
Contraction การเกร็งต้านน้ำหนักในช่วงผ่อนเวทลง
ยิ่งต้านช้าๆ ยิ่งปวด ซึ่งทำให้เกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ
3.
การเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อ แต่เป็นการฉีกขาดขนาดเล็ก
เรียกว่า microscopic tears ซึ่งการฉีกขาดเหล่านี้จะทำให้เกิดการอักเสบ
ของกล้ามเนื้อนั่นเองค่ะ
คำถามยอดฮิต
>>เล่นเวทแล้วไม่เจ็บจะกล้ามใหญ่มั้ย?
ขออธิบายกันแบบเปรียบเทียบง่ายๆ
กันก่อนนะคะว่า ถ้าเปรียบเทียบกีฬาประเภท Weight training
และ Endurance trianing ซึ่งเรียกกันให้ง่ายขึ้นก็อย่างเช่นคนที่ออกกำลังกายโดยเวทเทรนนิ่ง
และคนที่ออกกำลังกายโดยการวิ่ง ปั่นจักรยาน ฯลฯ เหล่านี้
กีฬาทั้งสองประเภทนี้
หลังเล่นสามารถเกิดอาการเมื่อยล้าหรือ DOMS เช่นเดียวกัน
นั่นก็หมายความว่าอาการ DOMS ไม่ใช่ตัวกำหนดที่จะบอกว่ากล้ามเนื้อจะใหญ่หรือไม่นั่นเองค่ะ
>> แล้วอะไรบ้างที่จะทำให้กล้ามเนื้อใหญ่?
1.ความหนักหน่วงของน้ำหนักที่ใช้
Overload = น้ำหนักมากกว่าที่เรารับไหว
Intensity = ความเข้มข้นในการฝึก
2. Time Under Tension ระยะเวลาภายใต้การกดดันของการเล่นเวทหรือภายใต้แรงกดดัน
เช่น เวลาที่เราเล่นเวทต้องมีการเกร็งต้าน ค่อยต้านๆ ลงนั่นเอง
ซึ่งถ้าหากเราเล่นเร็วๆ โดยที่ไม่มีการเกร็งต้านในกล้ามเนื้อเลยก็จะทำให้กล้ามเนื้อไม่เกิดการพัฒนาค่ะ
3.Frequency ความถี่และความสม่ำเสมอในการฝึกซ้อม
4.Nutrition หรือโภชนาการนั่นเองค่ะ
5.Resting การพักของร่างกาย
สรุปก็คือ อาการ DOMS ก็เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดการพัฒนากล้ามเนื้อในระดับนึง แต่ก็มีตัวชี้วัดอีกหลายตัวที่สามารถวัดได้นะคะ
ตัวอย่างเช่น ฟอร์มในการเล่นมีการพัฒนาดีขึ้น
มีการเกร็งต้านได้ดีมากขึ้นทำให้ผู้เล่นรู้สึกได้ถึงการใช้กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ
มากยิ่งขึ้นหรือมีสมาธิ จดจ่อกับกล้ามเนื้อที่ใช้เล่นมากยิ่งขึ้น เรียกว่า Mind Muscle connection ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้
ถึงแม้ว่าหลังเล่นนั้นเราจะไม่เกิดอาการ DOMS
- ไปเล่นเวทซ้ำช่วงกล้ามเนื้อเจ็บจะกล้ามเนื้อใหญ่ขึ้นจริงมั้ย?
ถามว่าสามารถเล่นได้มั้ย
จริงๆแล้วเล่นได้ค่ะ แต่ในตอนที่เราปวด ล้า
หรือเกิดภาวะ DOMS นั้น
จะเป็นช่วงที่เราเล่นได้ไม่เต็มที่เนื่องจากมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
เพื่อต้านความเจ็บปวดอยู่
ดังนั้นจึงแนะนำให้พักในส่วนนั้นๆ ให้หายก่อน
ระหว่างนั้นให้เล่นส่วนอื่นก่อนค่ะ
อีกทั้งอาการ DOMS เมื่อเกิดขึ้นแล้ว
ยังทำให้เป็นสาเหตุของการบาดเจ็บได้อีกด้วยค่ะ
- จะแยกภาวะ DOMS กับภาวะการบาดเจ็บของกกล้ามเนื้อได้อย่างไร?
คำถามนี้เรามักจะพบกันบ่อยในหมู่คนที่ออกกำลังกายใหม่ๆ
และเกิดอาการเมื่อยล้า
หรือเจ็บปวดของกล้ามเนื้อเกิดขึ้น จะเห็นได้ว่า
บางคนเมื่อออกกำลังกายเสร็จ
เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมักเข้าใจว่ากล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บ
แต่ไม่มีอาการบวม แดง
หรือปวดจนเดินไม่ได้ เป็นต้น
จึงต้องรีบไปพบแพทย์หรือทานยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการนั้น
แต่มักไม่ดีขึ้น นั่นก็เพราะว่าอาการ DOMS จะหายได้เองใน 24-72
ชม. ค่ะ
ส่วนการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อนั้นมักมีอาการที่เกิดขึ้นทันทีทันใด มีลักษณะการบาดเจ็บเกิดขึ้น เช่นอาการปวดมากทันทีทันใด ในขณะที่อาการ DOMS นั้นมักเกิดหลังออกกำลังกายไปแล้ว 1-2 วัน และอาการแสดงของการบาดเจ็บที่สำคัญอีกอย่างคืออาการบวม และแดง นั่นเองค่ะ เพราะฉะนั้นหากใครที่มีอาการเหล่านี้ จึงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาได้ทันท่วงทีค่ะ
ที่มา American College sports
medicine
Sports Med. 2003;33(2):145-64.,
Delayed onset muscle soreness : treatment strategies and performance factors. Cheung K1, Hume P, Maxwell L.
Comments
Post a Comment